คำถาม การปลูกพืชคลุมดินมีประโยชน์อย่างไร และมีพันธุ์อะไรบ้างครับ ขอทราบวิธีปลูกด้วยครับ ?

 

คำตอบ 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์  ได้แก่
      1  การถากถางพืชที่ปกคลุมหน้าดินจนเตียน  ทำให้น้ำฝนชะเอาผิวหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไหลไปด้วย   
      2. การเผาพืช หรือหญ้าที่ขึ้นในไร่นา  ทำให้แร่ธาตุและจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินซึ่งมีประโยชน์ต่อพืชถูกทำลายไป
      3. การทำไร่ – สวนบนเนินที่มีความลาดเอียงมาก  โดยการไถพื้นดินให้เป็นร่องจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำจะทำให้น้ำฝนชะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย 
      4. การปลูกพืชชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน  ทำให้แร่ธาตุในดินบางชนิดหมดไป ผลผลิตของพืชจึงลดลง    
      5  การขาดความรู้เรื่องวิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง  โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีถ้าใช้ไปในปริมาณมากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพลง

การสงวนและพัฒนาดินเพื่อให้มีคุณภาพดีมีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป  สามารถกระทำได้โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้                 
1.การปลูกพืชคลุมดิน  เป็นการป้องกันการชะของน้ำฝนพาเอาหน้าดินซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปที่อื่น  
พืชที่ปลูกคลุมดินควรเป็นพืชที่แผ่กิ่งก้านและใบไปตามผิวดินได้ดี  และราตื้นพืชคลุมดินจะช่วยลดอัตราการชะล้างพังทลาย   ของหน้าดินได้ดี

2.การใช้วัสดุธรรมชาติคลุมดิน  ในช่วงเวลาที่หยุดพักการปลูกพืชไม่ควรปล่อยให้ดินว่างเปล่าควรหา
วัสดุมาคลุมดินไว้  วัสดุที่เหมาะสำหรับคลุมดินคือ หญ้าและฟาง นอกจากจะเป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินแล้วดินยังช่วยรักษาความชื้นของดินและยังสลายกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินอีกด้วย

3.การปลูกพืชหมุนเวียน  เป็นการปลูกพืชสลับชนิดกันในพืชที่เดียวกัน  เช่น การปลูกถั่วสลับกับพืชที่เราต้องการผลผลิต ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันพังทลายของดินแล้วยังเป็นการเพิ่มรายได้และยังช่วยบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ด้วย
4.การปลูกพืชแซม   เป้นการปลูกพืชที่ให้ผลผลิตในพืชที่ว่างระหว่างแถวของพืชหลักในพืชที่ที่ปลูกหลัก  เป็นการป้องกันไม่ให้พื้นที่ว่างนั้นพังทลายลงและป้องการเจริญชองวัชพืชได้อีกด้วย

5.การปลุกพืชตามแนวระดับ เป็นวิธีการไถพรวน หว่าน ปลูกและเกี่ยวพืชขนานไปตามแนวระดับเดียวกัน ขวางความลาดเอียงของพืชที่ เป็นวิธีที่ช่วยอนุรักษ์ดินที่มีลักษณะเป็นเนิน หรือไหล่เขาได้วิธีหนึ่ง

6.การปลูกพืชแบบชั้นบันได เป็นวิธีสำหรับการอนุรักษ์ดินที่มีลักษณะเป็นเนิน  หรือไหล่เขาทำได้โดยสร้างคันดินหรือแนวหินขวาง ความลาดเอียงของพื้นที่ แล้วปลูกบนชั้นบันได

7.การเติมปุ๋ย การเติมปุ๋ยจะช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ ปุ๋ยที่ใช้อาจจะเป็นปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้

8.การปลูกป่า ป่าไม้จะช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี  เพราะป่าไม้จะช่วยชะลอการไหลของน้ำทำให้น้ำซึมเข้าสู่ดินได้มากขึ้น และหน้าดินไม่พังทลาย  และยังช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล ไม่เกิดความแห้งแล้งแก่ดิน ไม่เกิดน้ำท่วม ฯลฯ

 

พืชคลุมดิน คือพืชที่ปลูกหรือหว่านให้มีการเจริญเติบโตอย่างหนาแน่น มีใบหนา มีระบบรากแน่นสำหรับคลุม หรือยึดดิน หรือเจริญคลุมพืชทุกอย่างที่อยู่บนดิน เพื่อช่วยให้ดินมีสิ่งรองรับ ลดแรงปะทะ และลดการพัดพาจากกระแสน้ำและกระแสลม

ประโยชนของพืชคลุมดิน ช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดิน โดยเฉพาะพื้นที่ที่ความลาดเอียง เมื่อฝนตกหนักจะช่วยรองรับแรงปะทะของเม็ดฝนทำให้ความเร็วลดลงก่อนที่จะทำให้ดินถูกพัดพาไปที่อื่น ช่วยลดความเร็วและการกระจายของการไหลน้ำที่ไหลบ่าบนผิวดิน จึงทำให้น้ำซึมลงไปในดินได้ มากขึ้น ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน เมื่อมีการไถกลบต้น เถา หรือใบของพืชคลุมร่วงหล่นลงไปในดิน ถ้าเป็นพืชคลุมดินที่เป็นพืชตระกูลถั่ว จะสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ประโยชน์ เพิ่มเติมให้แก่ดิน ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินไว้ให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ช่วยต่อต้านขัดขวางการเจริญเติบโตของพืชที่ไม่ต้องการ เช่น หญ้าคา และวัชพืชต่างๆ รากของพืชคลุมดินช่วยทำให้ดินโปร่ง มีช่องอากาศมากขึ้น สามารถระบายน้ำได้ดี


     การปลูกพืชคลุมดินใน สวนปาล์มน้ำมัน    

      

การปลูกพืชคลุมดินใน สวนยางพารา

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน

1. เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เมื่อเศษกิ่งใบของพืชคลุมร่วงหล่นทับถมบนผิวดิน ในที่สุดจะผุพังรวมตัวกับดินซึ่งจะเป็นแหล่งอาหารของต้นไม้ต่อไป นอกจากนี้จะช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์ต่อพืช และเพิ่มจำนวนไส้เดือน
และจุลินทรีย์ในดิน

2. ป้องกันการชะล้างของหน้าดิน พืชคลุมจะส่งรากลงไปในดิน และยึดเม็ดดินไว้ ทำให้ผิวดินไม่ถูกเซาะได้ง่าย เมื่อมีน้ำไหลแรง หรือฝนตกหนัก การทำสวนบนเนินลาดจึงจำเป็นต้องปลูกพืชคลุม โดยปลูกพืชคลุมไว้ตามขั้นบันไดที่ทำไว้ จะช่วยยับยั้งความแรงของกระแสน้ำที่ไหลลงได้ จึงเป็นการป้องกันการพังทลายของดิน นอกจากนี้ใบหรือเถาพืชคลุมที่เจริญอย่างหนาแน่น จะช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดฝนที่มีขนาดโตๆ กระทบผิวดินโดยตรง อันจะเป็นการลดการชะล้างหน้าดินอีกทางหนึ่งด้วย

3. ทำให้โครงสร้าง และสภาพของดินดีขึ้น ดินที่มีพืชคลุมขึ้นอยู่จะไม่เกาะกันแน่นเหมือนดินที่ไม่มีพืชขึ้นเลย ถ้าเราเลือกพืชคลุมที่มีรากชอนไชไปในดิน และเป็นพืชที่ให้อินทรียวัตถุมาก จะทำให้ดินบริเวณนั้นร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้สะดวก และอุ้มน้ำได้ดี ก็จะทำให้ดินมีโครงสร้างเหมาะแก่การเจริญเติบโตของไม้ผล อินทรียวัตถุจากพืชคลุม จะช่วยทำให้เม็ดดินเหนียวติดกันเป็นก้อนๆ มีขนาดโตกว่าปกติ ทำให้ดินร่วนขึ้น ทั้งนี้เพราะสารที่มีลักษณะคล้ายวุ้นในอินทรียวัตถุจะมาเคลือบเม็ดดินเหนียวซึ่งมีขนาดเล็กมาก ให้เป็นก้อนโตขึ้น นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยทำให้เม็ดทรายในดินทรายให้ติดกันแน่น ทำให้เหนียวขึ้นกว่าเดิม เมื่อรวมกับซากพืชเข้าแล้ว ดินทรายก็จะอุ้มน้ำได้ดีขึ้น

4. ช่วยเก็บความชื้นให้กับดิน การปล่อยให้พืชคลุมคลุมตามผิวดิน โดยเฉพาะพืชคลุมที่ปลูกในดินที่พรวนแล้วอย่างดี หลังจากฝนตกใหญ่ครั้งสุดท้ายจะช่วยให้ดินเก็บน้ำได้ดีขึ้น และช่วยลดการระเหยของน้ำ เพราะพืชคลุมจะช่วยบังแสงแดดไม่ให้โดนผิวดินโดยตรง นอกจากนี้อินทรียวัตถุที่หล่นปกคลุมผิวดิน จะเป็นวัตถุคลุมดินที่ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำเป็นอย่างดี พืชคลุมจะช่วยดูดเอาน้ำที่จะไหลผ่านลงไปสู่ดินชั้นล่างไว้ แทนที่จะปล่อยให้สูญไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงทำให้ผิวดินชื้นอยู่เสมอ


5. ช่วยกำจัดวัชพืช พืชคลุมดินส่วนมาก จะมีใบเป็นจำนวนมาก และหล่นทับถมบนผิวดินจนแสงสว่างส่องไม่ถึงผิวดิน เมื่อเป็นเช่นนี้วัชพืช ก็ไม่มีโอกาสงอกได้ แม้แต่วัชพืชที่ตั้งตัวได้แล้ว เช่น หญ้าคา ถ้าเราปลูกพืชคลุม เช่น ถั่วลายขึ้นคลุมจะทำให้หญ้าคาตายได้ เพราะถูกบังแสงแดด จนมีไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

 

6. เมล็ดพันธุ์ของพืชคลุมดิน  ยังสามารถนำไปขายเพิ่มรายได้

 

วิธีการปลูกพืชคลุมดิน โดยปลูกให้เจริญเติบโตอยู่บนดินในระยะที่ไม่มีการปลูกพืชหลัก ปลูกโดยวิธีหว่านลงไปในระหว่างแถวของไม้ยืนต้น ซึ่งนิยมทำกันมากในสวนยางและสวนผลไม้ และปลูกตามแปลงปลูกพืชบนคันดิน หรือตามขั้นบันไดดินบนทางระบายน้ำ

การคัดเลือกชนิดของพืชคลุมดิน ต้องเป็นพืชที่มีอายุหลายปี เพื่อที่จะได้ไม่ต้องปลูกบ่อยครั้ง เป็นพืชที่มีรากแน่นแผ่สาขาออกไปได้มาก จะช่วยยึดเหนี่ยวเม็ดดินให้ติดกัน ไม่พังทลายได้ง่าย ควรเป็นพืชที่ทนต่อสภาพแวดล้อม สามารถเจริญเติบโตได้ดี ทั้งกลางแจ้งและในร่ม เป็นพืชที่ทนต่อโรคและแมลง ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดินได้ดี

แต่ก่อนที่เราจะรู้จักว่า  พืชคลุมดินที่ควรปลูก  มีอะไรบ้าง  เราไปดูปัญหาของการปลูกพืชคลุมดินกันด้วย  อันได้แก่ 
             1. ในฤดูฝน  พืชคลุมดินจะเติบโตอย่างรวดเร็ว  ทำให้ไปเลื้อยพันต้นไม้ของเราได้รวดเร็ว  จึงต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่
             2. ในฤดูแล้ง  อากาศแห้ง  พืชคลุมดินจะโทรมและทิ้งใบ  ซึ่งอาจเป็นเชื้อเพลิง  ทำให้เกิดไฟไหม้  ก็ต้องคอยดูแลใกล้ชิดอีกเช่นเดียวกัน  หรือทำแนวกันไฟอย่างน้อย 1 เมตร  ก่อนถึงต้นไม้เรา

1.เซนโตรซิมา หรือถั่วลาย เป็นถั่วที่มีใบค่อนข้างเล็ก ใบดก เถาหนาแน่น ทนทานต่อความแห้งแล้งตลอดปี โตเร็ว เถาค่อนข้างเหนียวมาก เน่าเปี่อยช้า มีปมที่รากมาก

2.คุดซู เป็นถั่วที่มีใบใหญ่หนา เถาใหญ่ และเถาเป็นขน เถาเปราะ เน่าเปื่อยเร็ว ทนทานต่อ ความแห้งแล้งปานกลาง ในฤดูแล้งต้นจะโทรมแต่ไม่ตาย เจริญเติบโตช้ามาก อายุ 10-12 เดือน จึงจะคลุมดินทั้งแปลง ใบจะหนา และแข็งแรง สามารถปกคลุมหญ้าได้ดีมาก

3.คาโลโปโกเนียม เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดเถาเลื้อยคลุมไปตามผิวดิน ใบมีขนาดปานกลาง ชอบฝนตกชุก แต่ไม่ชอบน้ำขัง เมล็ดเล็กแบนสีน้ำตาลอ่อน ปลูกโดยใช้เมล็ดใน อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดที่ปลูกจะงอกภายใน 1 สัปดาห์ และออกดอกภายใน 3-5 เดือน หลังจากนั้นอีก 3 เดือน จะเก็บเมล็ดได้ คลุมดินไดภายใน 3-4 เดือน จะออกดอกและ เก็บเมล็ดไดเมื่อมีอายุ 6-7 เดือนขึ้นไปจนกระทั่งอายุ ประมาณ 18 เดือน ตนก็จะโทรม ตายคาโลโปโกเนียม เปนพืชที่ไมชอบรมเงา เมื่อปลูกรวมกับพืชคลุมดินชนิด อื่น จะมีปริมาณมาก ในปแรกแตหลัง จากนั้นจะถูก ทดแทนดวยพืชคลุมดินชนิดอื่น เมื่อแล้งจัดอาจตายได้

4.หญ้าเบอรมิวดา หรือหญ้าแพรก เป็นหญ้าค้างปี ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในประเทศไทย เจริญเติบโตได้รวดเร็ว โดยอาศัยลำต้นบนดิน และไหลที่อยูใต้ดิน ลักษณะลำต้นเล็ก ใบเล็กละเอียดอ่อนเป็นฝอย ปลูกง่าย โดยใช้ลำต้นหรือเหง้า ถ้าหากดินมีความชื้นดีพอ ภายใน 10 วัน ก็จะตั้งตัวได้ ระยะเวลา 1 เดือนแรก เจริญเติบโตได้หนาแน่นบนดิน ในหน้าแล้งหญ้าชนิดนี้ จะแห้งเหี่ยวและพักตัวอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อได้น้ำฝนจะงอกต้นขึ้นมาใหม่อย่างรวดเร็ว 

5.หญาคอสตอลเบอรมิวดา บางครั้งเรียกวา หญาแพรกยักษ เปนหญาพันธุใหมที่นำเขามาปลูกใน ประเทศไทย ลักษณะลำตนสูงใหญใบใหญ และยาว กวาหญาแพรกธรรมดามาก มีความแข็งแรงทนทาน เจริญเติบโตคลุมดินไดรวดเร็วมาก ขึ้นไดดีในดินทุก ชนิด ปลูกงายโดยใชลำตนตัดเปนทอนๆ เหงา หรือชิ้น หญาชนิดนี้ ไมมีเมล็ด พื้นที่ที่วางเปลาไมได ใชทำการเกษตรและ เปนที่เสี่ยงภัยตอการ ดินถลม ควรหวานพืช คลุมดินไว เพื่อรักษา ความชุมชื้นใหกับพื้นที่ และปองกันการชะลาง พังทลายของดินและ ดินถลม 

เพอราเรีย

6.เพอราเรีย  ใบมีขนาดใหญหนา เถาใหญและ เปนขน จึงควบคุมวัชพืชไดดีกว่าถั่วสองชนิดแรก เพอราเรียจะมีการเจริญเติบโตชา อายุเกือบปจึงจะคลุม ดินไดและจะสามารถคลุมดินไดประมาณ 3-4 ปแตถา มีรมเงามาก ตนก็จะโทรม ตายไป เถาและใบเปราะ เนาเปอยเร็ว

ซีรูเลียม

7.ซีรูเลียม หรือ นิวดาโลโป  เป็นพืชคลุมดินชนิดลำต้นเถาเลื้อยแข็งแรง ขึ้นได้ดีในสภาพร่มเงามาก คงทนกว่าพืชคลุมดินชนิดอื่นๆ

ดาวโหลดอ่านข้อมูลโดยละเอียดได้ที่

ซีรูเลียม พืชมหัศจรรย์คลุมดินตอนที่ 1

http://www.doa.go.th/kasikorn/year-55/sep_oct_55/part-2.pdf

                                  

ปอเทือง

7. ปอเทือง (sunn hemp) เป็นพืชในตระกูลถั่วที่นิยมปลูกมากที่สุดในหมู่พืชคลุมดินทั้งหมด เหมาะสำหรับเป็นปุ๋ยพืชสด และใช้เป็นอาหารโค กระบือ รวมถึงเพื่อความสวยงามในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งนิยมปลูกมากในช่วงต้นฤดูฝนก่อนที่จะไถกลบหรือเก็บเกี่ยวก่อนปลูกพืชหลัก ลำต้นปอเทือง เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เรียวสูง ลำต้นแตกกิ่งน้อยถึงปานกลาง ขนาดลำต้นประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 1.5- 3 เมตร เปลือกลำต้นบาง มีสีเขียว สามารถลอกเป็นเส้นได้ แก่นหรือเนื้อไม้ เป็นไม้เนื้ออ่อน เปราะหักง่าย สามารถใช้ทำเยื่อกระดาษได้ดี 

ประโยชน์ปอเทือง
1. ใช้ปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีไนโตรเจนสูง รวมถึงสารอาหารอื่นด้วย
2. ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดิน ป้องกันหน้าดินพังทลาย
3. ใช้ปลูกเป็นพืชอาหารสำหรับเลี้ยงโค กระบือ รวมถึงดอก และใบที่นำมาเลี้ยงหมูได้เช่นกัน
4. ใช้ปลูกเพื่อนำดอกมารับประทาน ทั้งรับประทานสด หรือลวกจิ้มน้ำพริก รวมถึงใช้ประกอบอาหารหลายเมนู อาทิ แกงอ่อม แกงเลียง ต้มยำ เป็นต้น
5. ลำต้นใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ
6. เปลือกลำต้นสามารถดึงลอกเป็นเส้นได้ และจัดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวสูง สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชือก ด้าย และอวน เป็นต้น

ส่วนประกอบลำต้น และใบปอเทือง
* โปรตีน 14.2%
* เยื่อใยหยาบ 33.3%
* คาร์โบเดรท 38.6%
* ไขมัน 2.5%
* เถ้า 8.0%
* แคลเซียม 0.73-2.08%
* ฟอสฟอรัส 0.19-0.51%

 

การบำรุงรักษาพืชคลุมดิน 

ในระยะแรกของการปลูกพืชคลุมดิน จะมีบางส่วนที่ปลูกไม่ขึ้นหรือตาย ควรปลูกซ่อมบริเวณนั้นโดยเร็ว และต้องคอยหมั่นกำจัดวัชพืชจนกว่าพืชคลุมดิน จะขึ้นคลุมดินทั่วทั้งแปลงปลูก เมื่อพืชคลุมดินเจริญเติบโตมากขึ้น จะมีเถาเลื้อย บางส่วนเลื้อยคลุมเข้าไปบริเวณไม้ยืนต้น หรือพืชหลัก ควรหมั่นตลบเถาพืชคลุมดินอย่าให้เข้าไปปนกับพืชหลัก ควรใส่ปุ๋ยในระยะแรก เพราะจะทำให้พืชคลุมดินโตเร็ว เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืช หลังจากพืชคลุมดินงอกแล้ว 1-3 สัปดาห์ ถ้าเป็นพืชคลุมดิน ประเภทตระกูลถั่ว ควรใช้ปุ๋ยฟอสเฟตร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ สูตร 0-15-15 ในอัตรา 10 กก./ไร่ และควรหว่านยิปซัมลงไป เพื่อเพิ่มธาตุอาหารแคลเซียมและซัลเฟอร์ ในอัตรา 10 กก./ไร่ ถ้าเป็นพืชตระกูลหญ้า ควรใช้ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 10 กก./ไร่

 

ติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์ ซีรูเลียม และ เพอราเรีย

โทร. 0819384651

https://www.facebook.com/pg/PhuchKhlumDinTrakulThaw/

 

ดาวโหลดวิธีการปลูกพืชคลุมซีรูเลียมในสวนยาง และการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียม โดย สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

http://www.rubberthai.com/book/file/109.pdf

 

ดาวโหลดวิธีการปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันและกำจัดวัชพืช ในสวนไม้ผลและไม้ยืนต้น โดย กรมป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/tree_fruit/fruit56.pdf

 

สอบถามหน่วยงานราชการ

 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่

 สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน โทร. 0-2579-7563

 สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12

 กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม.10900 โทร. 1760

 สถานีพัฒนาที่ดินที่ตั้งใกลบาน

 

ขอบคุณที่มา :

http://www.naewna.com/local/195824

http://www.vcharkarn.com/varticle/41754

http://puechkaset.com/%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/

http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G3/G3_20.pdf

 

THR Organic รับผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มูลค้างคาวแท้ คุณภาพสูงในราคาโรงงาน !!!