ศิลปะบนนาข้าวเกษตรอินทรีย์ : โครงการรณรงค์สร้างความเข้มแข็งให้วิถีชาวนาไทย

โดย อาศิรา พนาราม

organic rice

หากใครที่ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้* คุณอาจจะรู้อยู่แล้วว่า องค์กรนี้เขาทำงานรณรงค์เกี่ยวกับสถานการณ์ของ ‘พันธุ์ข้าวไทย’ และ ‘วิถีชีวิตของชาวนาไทย’ มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความที่มันกำลังถูกบ่อนทำลายจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เรียกว่า ‘GMO’ (Genetically Modified Organism) ซึ่งปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันในหลายประเด็น ตั้งแต่เรื่องผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับท้องถิ่นในอนาคต ไปจนถึงการจดสิทธิบัตรที่ไม่เป็นธรรมจากต่างชาติ โดยล่าสุดกรีนพีซได้สร้างสรรค์ ‘ศิลปะบนนาข้าวเกษตรอินทรีย์’ ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือการรณรงค์ในแบบสันติวิธีด้วย

RICE_ART

สร้างสำนึกผ่านศิลปะบนนาข้าว 
บนแนวคิดที่ว่า ‘ศิลปะ’ เป็นสื่อสากลที่สามารถส่งต่อความคิดและแรงบันดาลใจไปได้ในวงกว้าง ผลงาน ‘ศิลปะบนนาข้าวเกษตรอินทรีย์’ จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อสื่อสารกับรัฐบาลและประชาชนคนไทย ให้เริ่มหันมาใส่ใจปกป้องพันธุ์ข้าวและวิถีชีวิตของชาวนาในประเทศ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

art rice farm2

กรีนพีซเริ่มต้นออกค้นหาชาวนาที่มีที่นาเป็นของตัวเองให้มาเข้าร่วมโครงการ ซึ่งทีมงานท้องถิ่นก็ได้พบกับ คุณป้าสำเนียง ฮวดลิ้ม เกษตรกรผู้เป็นเจ้าของนาข้าวเกษตรอินทรีย์ ที่บ้านเขาราบ ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ผู้ซึ่งเมื่อรับฟังแนวคิดแล้ว ก็อยากจะให้การสนับสนุนเต็มที่

คุณป้าสำเนียงได้ให้ความรู้เรื่องการทำนาเกษตรอินทรีย์แก่อาสาสมัครกรีนพีซที่เข้ามาช่วยดำนา โดยงานนี้ได้เลือกพันธุ์ข้าวไทย 2 ชนิดที่มีสีสรรแตกต่างกันมาใช้ทำให้เกิดภาพ โดยต้นข้าวสีเขียวที่ปลูกเป็นพื้นหลัง คือ ข้าวเจ้าพันธุ์ชัยนาท 1 ส่วนต้นข้าวสีเข้มบนผ้าใบ คือ ข้าวเหนียวดำพันธุ์ก่ำพะเยา ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นบ้านเก่าแก่ที่หาได้ยากในปัจจุบัน (เพราะรัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมให้ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ)

ในขั้นตอนการร่างภาพนั้น ได้อาสาสมัครชาวสวิสจากกรีนพีซสากลมาช่วย โดยใช้เทคโนโลยี GPS ในการระบุตำแหน่ง จากนั้นก็ลงมือปักหมุดกันด้วยมือถึง 3500 จุด และอาศัยแรงงานของอาสาสมัครที่ลงไปปักดำนา (ตามหมุดนั้น) อีกถึง 1 เดือน

art rice farm

ณ วันที่เราได้ไปเยี่ยมชมงานศิลปะบนท้องนาอันนี้ พวกเราต้องไต่ขึ้นไปบนนั่งร้านความสูง 20 เมตร เพื่อดูภาพจากด้านบน ลมแรงและความสูงที่ชวนให้ขาสั่นยิ่งทำให้ภาพตรงหน้าดูอัศจรรย์ยิ่งขึ้น โดยภาพที่กรีนพีซเลือกมาประกอบเป็นงานศิลป์ขนาดมหึมาในครั้งนี้ คือ ภาพ ‘ชีวิต’ และ ‘งาน’ ของชาวนาผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งเราคิดว่าสามารถตอบโจทย์การรณรงค์ครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี

เกษตรอินทรีย์ หนทางพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน 
คุณป้าสำเนียง ฮวดลิ้ม ก็เหมือนกับชาวนาและเกษตรกรอื่นๆ ทั่วไป ที่ต้องกู้หนี้ยืมสินมาประกอบอาชีพจนมีหนี้สินท่วมตัว กระทั่งวันหนึ่งที่ได้มาพบกับวิถีแห่งการพึ่งพาตนเอง ผ่านการใช้ ‘เกษตรอินทรีย์’ และ ‘วิถีชีวิตพอเพียง’ ไม่นานหลังจากนั้นเธอก็สามารถปลดหนี้ทั้งหมดลงได้

art rice farm3

อันที่จริงแล้ว ‘นาข้าวเกษตรอินทรีย์’ นั้น เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของเกษตรกรไทย โดยหัวใจสำคัญคือ การนำสิ่งที่มีอยู่แล้วในเรือกสวนไร่นามาปรับใช้ทั้งระบบ ทั้งเป็นปุ๋ย เป็นยาฆ่าแมลงด้วยวิธีธรรมชาติ ฯลฯ แต่ด้วยความเจริญและวิทยาการตะวันตกที่แทรกซึมเข้ามาพร้อมกับระบบทุนนิยม ทำให้คนไทยเราละทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมของตน และหันไปพึ่งพาเกษตรเคมีแทน นานปีผ่านไปจึงได้ตระหนักว่า สารเคมีเหล่านั้นได้ทำลายความสมบูรณ์ตามธรรมชาติของดินไปจนหมดสิ้น (เพราะการใช้เคมีได้ไปตัดวงจรที่ต้นไม้และดินเคยพึ่งพาอาศัยกัน) ทั้งยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย

ความตั้งใจของกรีนพีซในการรณรงค์ครั้งนี้ไม่ได้ผิวเผินเพียงแค่ให้มีคนมาเที่ยวและชื่นชมงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ตระการตา แต่เป็นการส่งผ่านข้อมูลให้สาธารณชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวไทย หลักการเกษตรอินทรีย์ และวิถีชีวิตของชาวนาไทยที่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ฉะนั้นหากคนไทยเรายังละเลย และไม่รู้เท่าทันต่อผลกระทบของเทคโนโลยี GMO แล้ว ในอนาคตประเทศชาติของเราอาจต้องพบกับความสูญเสียมากมาย ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจพื้นฐาน และภูมิปัญญาเก่าแก่ที่อาจสูญสลายไปด้วย

* กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ องค์กรที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาดั้งเดิมอันเป็นธรรมชาติของแต่ละภูมิประเทศ

ข้าว GMO ส่งผลกระทบด้านลบอย่างไร

พืช GMO นั้นได้ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น ทนต่อโรค ให้ผลผลิตสูง ฯลฯ เป็นการตอบโจทย์การผลิตในระบบอุตสาหกรรม แต่หากมันได้รับความนิยมและแพร่กระจายมากเกินไป ก็จะเกิดผลเสียในระยะยาวได้ดังต่อไปนี้

1. สูญเสียความหลากหลายของพืชพรรณในท้องถิ่น การสูญเสียพันธุ์พืชหรือสัตว์ไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ออกไปเป็นลูกโซ่ จากปัญหาเล็กๆ ในท้องนา ก็อาจกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่โตได้ในอนาคต

2. เกิดการผูกขาดการค้า พืช GMO เกิดขึ้นจากการวิจัยซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทเอกชนไม่กี่แห่ง ซึ่งหากในระยะยาวแล้วเกษตรกรต้องจ่ายค่าพันธุ์พืชเหล่านี้ให้กับบริษัท (รวมถึงค่าปุ๋ยและอื่นๆ ที่วิจัยควบคู่มากับการปลูกพืช GMO) ก็จะเกิดการผูกขาดทางผลประโยชน์ไปสู่บริษัทเหล่านั้น ส่งผลให้เกษตรกรไม่อาจพึ่งพาตนเองได้

3. ปัญหาด้านสุขภาพ แม้จะยังไม่มีงานวิจัยใดออกมายืนยันว่าการบริโภคผลผลิตจากพืช GMO นั้นมีอันตราย แต่ที่แน่ๆ กระบวนการ GMO จะทำให้เกิดสารต้านยาปฏิชีวนะขึ้นมา ซึ่งการบริโภคอาหารที่มี

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง 
http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/organic-rice-art 
คลิกดูภาพเพิ่มเติมที่ 
http://picasaweb.google.co.th/chuchaim/RiceArtPIC02#

THR Organic รับผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มูลค้างคาวแท้ คุณภาพสูงในราคาโรงงาน !!!