ก่อนที่เราจะจัดการดิน เราต้องรู้ก่อนว่าดินสมบูรณ์เป็นอย่างไร ?

 

ดินสมบูรณ์ประกอบด้วย

 

1. มีธาตุอาหารที่พืชต้องการเพียงพอ

- มี N P K ธาตุรองเสริมมากน้อยแค่ไหน พืชต้องการธาตุอาหารหลัก N P K ในปริมาณมากก็จริง แต่ก็ต้องการธาตุอาหารรองเสริมอื่น ๆ ไม่แตกต่างจากคนเช่นกัน เช่น คนขาดไอโอดีนเพียงเล็กน้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานานก็เป็นโรคคอหอยพอกได้ พืชขาดธาตุโบรอนเพียงเล็กน้อยเป็นเวลานานก็ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตได้เช่นกัน 

   คำว่าธาตุอาหารเพียงพอ จึงไม่ได้จำกัดแค่เพียง N P K อย่างที่ทุกคนเข้าใจ แต่รวมไปถึงธาตุอหารตัวเล็กตัวน้อยอื่น ๆ ที่ต้องใช้ประกอบการดำรงชีวิตของพืชครบถ้วน จึงจะเรียกได้ว่าดินอุดมสมบูรณ์เพียงพอ

   การปลูกพืชเชิงเดี่ยว(ปลูกพืชชนิดเดียว) ในพื้นที่เดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ทำให้ดินขาดธาตุรองเสริมอย่างหนัก ควรแก้ไขด้วยการเพิ่มมูลสัตว์ หรือปุ๋ยอินทรีย์ลงในดินอย่างสม่ำเสมอ หรือปลูกพืชอื่น ๆ สลับในช่วงพักจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวของพืชหลัก จะช่วยให้ลดปัญหาการขาดธาตุรองเสริมได้

 

2. มีลักษณะที่เหมาะสมในการปลูกพืช

ลักษณะของดินควรมีความสอดคล้องกับพืชที่เราจะปลูกด้วย

- ลักษณะดินทราย เหนียว แหล่งน้ำ เหมาะสมในการปลูกพืชที่เราต้องการปลูกมากแค่ไหน 

เช่น มันสำปะหลังปลูกได้ดีในดินทรายก็จริง แต่หากมีแหล่งน้ำที่ดีด้วย ก็จะช่วยเพิ่มผลผลิตจากเดิมได้มากถึง 30% โดยการจัดการทุกอย่างเหมือนเดิม

มันสัมปะหลังหากปลูกในดินเหนียวกึ่งร่วน ต้องไม่อยู่ในพื้นที่ที่น้ำท่วมขัง เวลาฝนตกต้องระบายน้ำได้ดี ไม่เช่นนั้นจะทำให้หัวเน่าเสียหายได้ ฯลฯ

   หรือ ช่วงหน้าแล้ง พื้นที่เดิมที่เคยปลูกข้าว อาจผันมาปลูกพืชอื่น ที่ใช้น้ำน้อยกว่า เช่น ผักหลาย ๆ ชนิด เพื่อหมุนเวียนธาตุอาหารในดิน และ ช่วยสร้างรายได้อีกทางหนึ่งให้กับเกษตรกรด้วย

- ดินที่มีช่องว่างในดินมากกว่าจะสัมผัสอากาศและความชื้นได้ดีกว่า จะมีย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ได้ดีกว่า ธาตุอาหาร ฮิวมิค ฮิวมัสก็จะมีมากกว่าดินที่อัดแน่น

- การระเบิดดินดาน โดยไถพรวนดินให้ลึก 60 ซม.ขึ้นไป จะช่วยให้ความชื้นจากแหล่งน้ำใต้ดินระเหยขึ้นมา และเพิ่มความลึกในการกักเก็บน้ำเมื่อเวลาฝนตกได้เป็นอย่างดี เป็นการช่วยเพิ่มความชื้นในดินได้อีกทางหนึ่ง

  ลักษณะทางพันธุศาสตร์ของพืช กับลักษณะทางกายภาพของดิน มีส่วนสัมพันธ์กันชัดเจน เกษตรกรต้องเลือกลักษณะของพืชให้เหมาะกับ "ลักษณะสภาพแวดล้อม" ที่เรามีด้วย ไม่ควรทำเกษตรแบบรอฟ้ารอฝน(เทวดาเลี้ยง)อีกต่อไป

 

3. มีกรด-ด่างที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตในดิน และพืช

PH กับ ดิน พืช

ค่าความเป็นกรด-ด่างในดินที่สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดีคือ ระหว่าง pH 6-7

  ส่วนใหญ่ดินจะปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดีที่สุดประมาณช่วง PH 6-7 หากดินไม่อยู่สภาพกรดด่างที่เหมาะสมแล้ว ถึงแม้ในดินจะมีธาตุอาหารอยู่ในดินมากมาย พืชก็ไม่สามารถนำธาตุอาหารเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้

  วิธีการที่จะรู้ความเป็นกรดด่างของดิน คือ "ตรวจวิเคราะห์ดิน" หากดินมีสภาพกรดด่างที่ไม่ดี ควรจะปรับปรุงดินด้วยสารปรับสภาพดินก่อนที่จะใส่ปุ๋ยบำรุงดิน เพื่อให้ดินมีสภาพที่พร้อมจะปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดี

 

4. มีสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดินมากเพียงพอ

สิ่งมีชีวิตในดิน รับผลิตปุ๋ย โรงงานปุ๋ย

     "สิ่งมีชีวิตในดินที่ดีจำเป็นต้องใช้อากาศในการหายใจ" หากอากาศในดินมีไม่เพียงพอ สิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียบางชนิดที่ไม่ใช้อากาศหายใจที่มักก่อให้เกิดโรคจะเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นได้เร็วกว่า 

     สิ่งมีชีวิตในดินจะ ช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ซากพืช ซากสัตว์ ขับเคลื่อนแก๊สในดิน เพิ่มช่องว่างในดิน ปรับโครงสร้างดิน ตรึงแก๊สในอากาศมาเป็นธาตุอาหารให้กับพืช ช่วยปลดปล่อยแร่ธาตุในดินบางชนิดที่พืชย่อยไม่ได้ เปลี่ยนเอนไซม์หลายชนิดให้พืชนำไปใช้ได้ เมื่อตายจะเป็นอินทรีย์วัตถุให้กับดิน ฯลฯ

     จุลชีพ หรือ สิ่งมีชีวิตเล็ก เช่น เชื้อรา แบคทีเรียบางชนิด มีการอาศัยแบบพึ่งพาได้ประโยชน์ต่างตอบแทนกับพืชด้วยการย่อยสลายธาตุอาหารที่พืชดูดซึมได้ยากให้กับพืช และพืชก็จะมอบธาตุอาหารหรือเอนไซม์บางชนิดที่เป็นอาหารของเชื้อราหรือแบคทีเรียด้วย

     สิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ พวกนี้ถ้าเป็นประเภทดีรวมตัวกันจำนวนมาก ๆ ยังช่วยสร้างภูมิต้านทานเชื้อไม่ดีให้กับพืช ซึ่งเป็นการสร้างภูมิกันแก่พืชไปโดยอัตโนมัติ

     แบคทีเรียและเชื้อราที่ดีบางชนิด ไม่สามารถอยู่ได้ในสภาพที่เป็นกรดหรือด่างสูง ๆ เป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นจึงควรดูแลสภาพ PH ในดินให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลาด้วย เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ที่ดีในดินให้ยั่งยืนตลอดไป

 

ที่มา :

http://thr-organic.com/th/knowlage_detail.php?id=25

THR Organic โรงงานรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มูลค้างคาว

THR Organic รับผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มูลค้างคาวแท้ คุณภาพสูงในราคาโรงงาน !!!